หมวด บ.
บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น – รู้จักผ่อนปรนเข้าหากัน
มิให้กระทบกระเทือนใจกัน
บ่างช่างยุ – คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน
บ้าหอบฟาง – บ้าสมบัติ เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าจะเอาทั้งนั้น, อาการที่หอบหิ้วสิ่งของพะรุงพะรัง
บุญทำกรรมแต่ง – บุญหรือบาปที่ทำไว้ในชาติก่อน เป็นเหตุทำให้รูปร่างหน้าตาหรือชีวิตของคนเราในชาตินี้ สวยงาม ดี ชั่ว เป็นต้น
เบี้ยน้อยหอยน้อย – มีเงินน้อย, มีไม่มาก
เบี้ยบ้ายรายทาง – เงินที่จะต้องใช้จ่ายหรือเสียไปเรื่อย ๆ เป็นระยะ ๆ ในขณะทำธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ
บ่างช่างยุ – คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน
บ้าหอบฟาง – บ้าสมบัติ เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าจะเอาทั้งนั้น, อาการที่หอบหิ้วสิ่งของพะรุงพะรัง
บุญทำกรรมแต่ง – บุญหรือบาปที่ทำไว้ในชาติก่อน เป็นเหตุทำให้รูปร่างหน้าตาหรือชีวิตของคนเราในชาตินี้ สวยงาม ดี ชั่ว เป็นต้น
เบี้ยน้อยหอยน้อย – มีเงินน้อย, มีไม่มาก
เบี้ยบ้ายรายทาง – เงินที่จะต้องใช้จ่ายหรือเสียไปเรื่อย ๆ เป็นระยะ ๆ ในขณะทำธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ
หมวด ป.
ปล่อยลูกนกลูกกา – ปล่อยให้เป็นอิสระ, ไม่เอาผิด
ปล่อยเสือเข้าป่า – ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลังอีก
ปลาหมอตายเพราะปาก – คนที่พูดพล่อยจนได้รับอันตราย
ปลาใหญ่กินปลาเล็ก – คนที่มีอำนาจหรือผู้ใหญ่ที่กดขี่ข่มเหงผู้อ่อนแอหรือผู้น้อย
ปลูกเรือนคร่อมตอ – กระทำสิ่งซึ่งล่วงล้ำ ก้าวก่ายสิทธิของผู้อื่น จะโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่ก็ตาม
ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน – ทำตามความพอใจของผู้ที่จะได้รับผลโดยตรง
ปอกกล้วยเข้าปาก – ง่าย
ปากปราศรัยใจเชือดคอ – พูดดีแต่ใจคิดร้าย
ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม – ยังเป็นเด็ก
ปากว่าตาขยิบ – พูดอย่างหนึ่ง แต่ทำอีกอย่างหนึ่ง
ปากหวานก้นเปรี้ยว – พูดจาอ่อนหวานแต่ไม่จริงใจ
ปิดทองหลังพระ – ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า
ปิดประตูตีแมว – รังแกคนไม่มีทางสู้ และไม่มีทางหนีรอดไปได้
ปีกกล้าขาแข็ง – พึ่งตัวเองได้ (เป็นคำที่ผู้ใหญ่มักใช้กล่าวเชิงตำหนิติเตียนผู้น้อย)
เป็ดขันประชันไก่ – ผู้ที่มีความรู้ความสามารถน้อย แต่อวดแสดงแข่งกับผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูง
ไปไหนมาสามวาสองศอก – ถามอย่างหนึ่งตอบไปอีกอย่างหนึ่ง
ปล่อยเสือเข้าป่า – ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลังอีก
ปลาหมอตายเพราะปาก – คนที่พูดพล่อยจนได้รับอันตราย
ปลาใหญ่กินปลาเล็ก – คนที่มีอำนาจหรือผู้ใหญ่ที่กดขี่ข่มเหงผู้อ่อนแอหรือผู้น้อย
ปลูกเรือนคร่อมตอ – กระทำสิ่งซึ่งล่วงล้ำ ก้าวก่ายสิทธิของผู้อื่น จะโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่ก็ตาม
ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน – ทำตามความพอใจของผู้ที่จะได้รับผลโดยตรง
ปอกกล้วยเข้าปาก – ง่าย
ปากปราศรัยใจเชือดคอ – พูดดีแต่ใจคิดร้าย
ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม – ยังเป็นเด็ก
ปากว่าตาขยิบ – พูดอย่างหนึ่ง แต่ทำอีกอย่างหนึ่ง
ปากหวานก้นเปรี้ยว – พูดจาอ่อนหวานแต่ไม่จริงใจ
ปิดทองหลังพระ – ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า
ปิดประตูตีแมว – รังแกคนไม่มีทางสู้ และไม่มีทางหนีรอดไปได้
ปีกกล้าขาแข็ง – พึ่งตัวเองได้ (เป็นคำที่ผู้ใหญ่มักใช้กล่าวเชิงตำหนิติเตียนผู้น้อย)
เป็ดขันประชันไก่ – ผู้ที่มีความรู้ความสามารถน้อย แต่อวดแสดงแข่งกับผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูง
ไปไหนมาสามวาสองศอก – ถามอย่างหนึ่งตอบไปอีกอย่างหนึ่ง
หมวด ผ. ฝ.
ผักชีโรยหน้า – การทำความดีเพียงผิวเผิน
ผ้าขี้ริ้วห่อทอง – คนมั่งมีแต่แต่งตัวซอมซ่อ
ผีซ้ำด้ำพลอย – ถูกซ้ำเติมเมื่อพลาดพลั้งลง หรือเมื่อคราวเคราะห์ร้าย
ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน – พลอยเหลวไหลไปด้วยกัน
ฝนทั่งให้เป็นเข็ม – เพียรพยายามสุดความสามารถจนกว่าจะสำเร็จผล
ฝากปลาไว้กับแมว – ไว้วางใจคนที่ไม่ควรไว้วางใจ
ฝากผีฝากไข้ – ขอยึดเป็นที่พึ่งจนวันตาย
ฝ่าคมหอกคมดาบ – เสี่ยงภัยในสงคราม, เสี่ยงอันตรายจากอาวุธนานาชนิด
ผ้าขี้ริ้วห่อทอง – คนมั่งมีแต่แต่งตัวซอมซ่อ
ผีซ้ำด้ำพลอย – ถูกซ้ำเติมเมื่อพลาดพลั้งลง หรือเมื่อคราวเคราะห์ร้าย
ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน – พลอยเหลวไหลไปด้วยกัน
ฝนทั่งให้เป็นเข็ม – เพียรพยายามสุดความสามารถจนกว่าจะสำเร็จผล
ฝากปลาไว้กับแมว – ไว้วางใจคนที่ไม่ควรไว้วางใจ
ฝากผีฝากไข้ – ขอยึดเป็นที่พึ่งจนวันตาย
ฝ่าคมหอกคมดาบ – เสี่ยงภัยในสงคราม, เสี่ยงอันตรายจากอาวุธนานาชนิด
หมวด พ. ฟ.
พบไม้งามเมื่อยามขวานบิ่น – พบหญิงสาวที่ต้องใจเมื่อแก่
พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก – ความทุกข์ยากเกิดซ้อน ๆ เข้ามาในขณะเดียวกัน
พระอิฐพระปูน – นิ่งเฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย
พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ – เปลี่ยนแปงหรือทำให้ผิดไปจากเดิมอย่างตรงกันข้าม
พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ – รู้ทันกัน
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง – พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า
เพชรตัดเพชร – คนเก่งต่อคนเก่งมาต่อสู้กัน
แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร – การยอมแพ้ทำให้เรื่องสงบ
ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด – ฟังไม่ได้ความแจ่มชัด แล้วเอาไปพูดต่อ
ไฟสุมขอน – อารมณ์ร้อนรุ่มที่คุกรุ่นอยู่ในใจ
พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก – ความทุกข์ยากเกิดซ้อน ๆ เข้ามาในขณะเดียวกัน
พระอิฐพระปูน – นิ่งเฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย
พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ – เปลี่ยนแปงหรือทำให้ผิดไปจากเดิมอย่างตรงกันข้าม
พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ – รู้ทันกัน
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง – พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า
เพชรตัดเพชร – คนเก่งต่อคนเก่งมาต่อสู้กัน
แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร – การยอมแพ้ทำให้เรื่องสงบ
ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด – ฟังไม่ได้ความแจ่มชัด แล้วเอาไปพูดต่อ
ไฟสุมขอน – อารมณ์ร้อนรุ่มที่คุกรุ่นอยู่ในใจ
หมวด ม.
มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก – พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลงไปมาจนจับคำพูดไม่ทัน
มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี – เห่อหรือตื่นเต้นในสิ่งที่ตนไม่เคยมีไม่เคยได้จนเกินพอดี
มัดมือชก – บังคับหรือใช้วิธีการใด ๆ ให้อีกฝ่ายหนึ่งตกอยู่ในอำนาจและจัดการเอาตามใจชอบ
มากหมอมากความ – มากคนก็มากเรื่อง
ม้าดีดกะโหลก – มีกิริยากระโดกกระเดกลุกลนหรือไม่เรียบร้อย
มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว – มีสมบัติเพียงเล็กน้อย แต่กังวลจนนอนไม่หลับ
มือถือสาก ปากถือศีล – มักแสดงตัวว่าเป็นคนมีศีลธรรม แต่กลับประพฤติชั่ว
มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ – ไม่ช่วยแล้วยังขัดขวางการทำงานของผู้อื่น
ไม่ดูตาม้าตาเรือ – ไม่พิจารณาให้รอบคอบ
ไม่มีมูลฝอยหมาไม่ขี้ – ไม่มีเหตุย่อมไม่มีผล
ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกโก่งหน้าไม้ – ด่วนทำไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันควร
ไม้ใกล้ฝั่ง – แก่ใกล้ตาย
ไม้หลักปักขี้ควาย, ไม้หลักปักเลน – โลเล, ไม่แน่นอน
ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก – อบรมสั่งสอนเด็กให้ประพฤติดีได้ง่ายกว่าอบรมสั่งสอนผู้ใหญ่
มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี – เห่อหรือตื่นเต้นในสิ่งที่ตนไม่เคยมีไม่เคยได้จนเกินพอดี
มัดมือชก – บังคับหรือใช้วิธีการใด ๆ ให้อีกฝ่ายหนึ่งตกอยู่ในอำนาจและจัดการเอาตามใจชอบ
มากหมอมากความ – มากคนก็มากเรื่อง
ม้าดีดกะโหลก – มีกิริยากระโดกกระเดกลุกลนหรือไม่เรียบร้อย
มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว – มีสมบัติเพียงเล็กน้อย แต่กังวลจนนอนไม่หลับ
มือถือสาก ปากถือศีล – มักแสดงตัวว่าเป็นคนมีศีลธรรม แต่กลับประพฤติชั่ว
มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ – ไม่ช่วยแล้วยังขัดขวางการทำงานของผู้อื่น
ไม่ดูตาม้าตาเรือ – ไม่พิจารณาให้รอบคอบ
ไม่มีมูลฝอยหมาไม่ขี้ – ไม่มีเหตุย่อมไม่มีผล
ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกโก่งหน้าไม้ – ด่วนทำไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันควร
ไม้ใกล้ฝั่ง – แก่ใกล้ตาย
ไม้หลักปักขี้ควาย, ไม้หลักปักเลน – โลเล, ไม่แน่นอน
ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก – อบรมสั่งสอนเด็กให้ประพฤติดีได้ง่ายกว่าอบรมสั่งสอนผู้ใหญ่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น